วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ม.หอการค้าไทยรับโครงการ Beta Young Entrepreneurรุ่น3ให้เรียนฟรีป.ตรี


ม.หอการค้าไทยรับโครงการ Beta Young Entrepreneurรุ่น3ให้เรียนฟรีป.ตรี

UploadImage


มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดรับหลักสูตรผู้ประกอบการรุ่นใหม่เพื่อสังคม รุ่นที่ 3 เพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิชา Entrepreneurship ซึ่งสามารถเป็นผู้ประกอบการที่มีความสำเร็จทางธุรกิจในอนาคต เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ Entrepreneurship ที่ครบถ้วน ทันสมัยให้กับบัณฑิต 

โดยเน้นให้มีประสบการณ์ในการสร้างและบริหารธุรกิจจริง มีคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม ระหว่างเรียนมีทุนการศึกษามอบให้ตลอด 4 ปี เปิดรับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

หลักสูตรผู้ประกอบการรุ่นใหม่เพื่อสังคม
 
เป็นหลักสูตรใหม่ที่ได้ปรับปรุงจากหลักสูตรเดิมโดยสาขาผู้ประกอบการ คณะบริหารธุรกิจ เริ่มใช้หลักสูตรใหม่นี้ตั้งแต่ปี 2554 เป็นหลักสูตรที่ปรับเพื่อตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการสร้างความเป็น "ผู้ประกอบการ" ในตัวบัณฑิต  โดยเน้นให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ในการสร้างและบริหารธุรกิจจริง มีคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม  โดยมีปรัชญาการพัฒนาหลักสูตรคือ "REAL Entrepreneur Creation" ดังรายละเอียดดังนี้
 
• REAL Business Case Study 
• REAL Business Experience
• REAL Successful Businessmen as Mentors/Idols (Mentorship Program)
• REAL Business Owner Opportunity
 
เมื่อหลักสูตรนี้ได้นำมาใช้ประจวบกับการได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการ นักธุรกิจรายใหญ่ที่สนใจนำเงินมา Funding ให้กับหลักสูตรและได้จัดตั้งเป็นโครงการ ภายใต้ชื่อว่า "Beta Young Entrepreneur" ครั้งแรก โดยเริ่มปรับโครงสร้างการทำงานในสาขาใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตร  จึงได้มีการปรับตั้งแต่วิธีการรับนักศึกษาที่แตกต่างจากนักศึกษาปกติ  โดยนอกจากดำเนินการจัดสอบข้อเขียนแล้ว มีการสัมภาษณ์  และนักศึกษาต้องเข้าค่ายคัดตัวที่เน้นการเฟ้นหาเด็กที่มี Business Sense ที่สามารถนำมาต่อยอดบ่มเพาะเป็นนักธุรกิจได้จำนวน 45 คนต่อรุ่น โดยจะให้ทุนค่าเล่าเรียน ค่าดำรงชีวิตรายเดือน และเงินทุนทำธุรกิจ
 
  การเรียนการสอนภาคทฤษฎี
 
เน้นการเรียนรู้จากปัญหา จากสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจ สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม เพื่อสร้างผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม
สัดส่วน Lecture 70% และเป็นกรณีศึกษา หรือประยุกต์จำลองสถานการณ์ในชั้นเรียน 30% โดยที่ข้อสอบจะมีกรณีศึกษาในทุกรายวิชา
 
เน้นการผสมผสาน Non-lecture teaching method หลากหลายรูปแบบ อาทิ การเรียนแบบ Problem-based learning, Case-based Learning เป็นต้น
เน้นทั้งมิติการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และมิติการสื่อสาร
 
เชิญผู้มีประสบการณ์ตรงในการดำเนินธุรกิจหลายหลายรูปแบบมาให้คำชี้แนะเพิ่มเติมให้กับนักศึกษา มีกูรูธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง อาที คุณฉัตรชัย (น้ำผลไม้มาลี) คุณเพชร (แบรนด์มาม่า) มาสร้างแรงบันดาลใจ
 
  การเรียนการสอนภาคปฏิบัติ
 
นอกจากการเรียนภาคทฤษฎีแล้ว หลักสูตร Entrepreneurship ยังมีโครงการเสริมหลักสูตร (Extra curricular activities) เพื่อเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้ในภาคปฏิบัติและสร้างประสบการณ์การดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1
 
โครงการฝึกงานตั้งแต่ปี 1 เพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์การทำงาน เข้าใจในวิชาชีพ "ผู้ประกอบการ"
 
โครงการธุรกิจจำลองเพื่อสังคม ในปีที่ 2 ตระหนักปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในองค์กร  และมีความเข้าใจการดำเนินธุรกิจจริง  เน้นการช่วยเหลือชุมชน  ช่วยเหลือสังคมเป็นหลัก  และผลกำไรเป็นอันดับรอง
 
โครงการแข่งขันแผนธุรกิจ ปี 3 พร้อมนำแผนธุรกิจนี้ไปเสนอต่อ Venture Capital โดยมีกองทุนสนับสนุนกิจกรรมและลงทุนในธุรกิจจริงตั้งแต่ ปี 3 ซึ่งให้โอกาสเป็นเจ้าของธุรกิจจริง  โดยหลังจากจบการศึกษาในหลักสูตรนี้  ธุรกิจจริงซึ่งสร้างขึ้นระหว่างการเรียนนี้สามารถนำไปดำเนินธุรกิจต่อเนื่องไปได้หลังจากจลการศึกษาแล้ว  จึงนับเป็นการสร้างอนาคตทางธุรกิจอย่างแท้จริง
 
โครงการ CSR และจรรยาบรรณ  จะหลอมนักศึกษาให้มีคุณธรรม จรรยาบรรณ และรับผิดชอบต่อสังคม  ซึ่งจะจัดทุกปีให้นักศึกษาเข้าร่วม
 
นอกจากนี้ในโครงการนี้  นักศึกษาจะมีการร่วมทำงานกับอาจารย์และกรรมการโครงการตลอดภาคการศึกษาแบบ Work-based learning ซึ่งมีผลทำให้การจัดโครงสร้างนักศึกษาจะสอดคล้องกับโครงสร้างการทำงานของอาจารย์เสมือนหนึ่งเป็นองค์กรลูก  ซึ่งนักศึกษาทุกคนต้องมีสังกัด  และวาระจะหมุนเวียนปีต่อปี
 
นอกจากการเรียนภาคทฤษฎีและปฏิบัติแล้วยังมีผู้นำธุรกิจชั้นแนวหน้าของประเทศ  ผู้ประสบความสำเร็จและมีวิสัยทัศน์เป็น Mentors ให้แก่นักศึกษาโครงการนี้ตลอดหลักสูตร โดย Panel of Mentors จะชี้แนะจุดประกายความเป็นผู้ประกอบการและให้วิสัยทัศน์แก่นักศึกษาเกี่ยวกับการทำธุรกิจอย่างต่อเนื่องตลอดหลักสูตร  เพิ่มเติมจากการแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษา
 
การสนับสนุนทางการเงิน
 
มูลนิธิสิริวัฒนภักดีสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ กิจกรรมต่างๆ ในโครงการ รวมทั้งจัดตั้งกองทุนสนับสนุนโครงการสร้างและบริหารงานธุรกิจจริง
มหาวิทยาลัยสนับสนุนทุนการศึกษา โดยยกเว้นค่าเล่าเรียนให้แก่นักศึกษาในโครงการ
 
เมื่อธุรกิจที่นักศึกษาสร้างขี้นมีการขยายตัว และต้องการเงินทุนเพิ่ม มหาวิทยาลัยจะประสานกับสถาบันการเงิน หรือ นักธุรกิจที่สนใจการลงทุนแบบ Venture Capital มารับฟังแผนธุรกิจของนักศึกษา เพื่อเพิ่มการลงทุนต่อยอดธุรกิจในอนาคต
 
โครงการสร้างและบริหารงานธุรกิจจริง: (คิดเป็นหน่วยกิต)
 
โครงการจะเน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้ เป็นขั้นตอน และต่อเนื่องในเชิงวิชาการ ตั้งแต่กระบวนการสร้างแนวคิด การก่อตั้งธุรกิจ การระดมทุนในระยะต่างๆของการดำเนินงาน และการบริหารงานในทุกส่วนของธุรกิจซึ่งธุรกิจนี้จะเกิดขึ้นจริง โดยมีเวลาดำเนินโครงการนี้ป็นเวลาสองปี
 
นักศึกษาได้รับเงินทุนสนับสนุนเบื้องต้นสำหรับการดำเนินธุรกิจในโครงการ จากกองทุนของมูลนิธิสิริวัฒนภักดี และมีอาจารย์ประจำกลุ่ม และ นักธุรกิจพี่เลี้ยงเป็นผู้ให้คำปรึกษา
 
กลุ่มเป้าหมาย
 
ต้องการรับผู้ที่มีความสนใจ และตั้งใจจริงที่จะประกอบธุรกิจ
 
ต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.5
 
อายุไม่เกิน 20 ปี (ณ วันที่สมัคร)
 
ไม่จำกัด เพศและเชื้อชาติ
 
จบการศึกษา มัธยมปลาย หรือเทียบเท่า
 
มีความประพฤติดี และมีประสบการณ์ทำกิจกรรมนอกหลักสูตรอยู่บ้าง 
(จดหมายแนะนำจากอาจารย์ของโรงเรียนเดิม หรือ นายจ้าง ประกอบใบสมัคร)
 
  แผนการรับนักศึกษาประจำปีการศึกษา 2556
 
 
รับสมัคร  ตั้งแต่วันนี้ถึงวันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556
 
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบข้อเขียน  วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556 (ดูรายชื่อที่เว็บไซต์มหาวิทยาลัย)
 
สอบข้อเขียนและสัมภาษณ์  วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2556
 
สอบข้อเขียน 8.30-12.00 น.
 
สอบสัมภาษณ์ 13.30-17.00 น.
 
 
 
หรือสมัครด้วยตนเอง ที่ศูนย์รับสมัครนักศึกษาใหม่ อาคาร 12 ชั้น 1 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ภายในวันที่ 4 มีนาคม 2555

  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
 
ศูนย์รับสมัครนักศึกษาใหม่ โทรศัพท์ 02-697-6761-7

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น